ถ้าพูดถึงเรื่องสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดที่สุดในโลก คุณนึกถึงอะไรคุณอาจคิดถึงมนุษย์เป็นอันดับต้นๆ เช่นเดียวกับพวกคนส่วนใหญ่หรือไม่ก็อาจนึกถึงสัตว์ที่ฉลาดหลักแหลมอย่างโลมา ชิมแปนซหรือช้างแต่ไม่ว่ายังไง คุณคงไม่คิดถึงพืชอย่างแน่นอน สำหรับคนส่วนใหญ่พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้มีอยู่ในหัวข้อสนทนามากนัก สิ่งมีชีวิตที่เป็นสีเขียวและเคลื่อนไหวไม่ได้ไม่ค่อยอยู่ในความสนใจของมนุษย์เราสักเท่าไหร่ในเรื่องความคิด นอกจากเรื่องผักผลไม้และเมนูอาหารแต่ในความจริง พืชทำสิ่งที่น่าอัศจรรย์มากมายไม่แพ้สัตว์หรือมนุษย์เลย พืชรู้ว่าเมื่อไหร่คือเวลาที่เหมาะสมที่พวกมันต้องเติบโตขึ้นจากดิน พืชบางชนิดถึงขั้นสามารถทำร้ายหรือวางกับดักล่อแมลงได้ ถ้าอย่างนั้นแปลว่าพืชมีสมองงั้นหรือพวกมันสามารถคิดได้หรือไม่ หรือมีอะไรซ่อนอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของพืชกันแน่
1.พืชกับศาสนา
ความเชื่อเรื่องจิตวินยานในศาสนาส่วนใหญ่นั้นให้ความสำคัญกับมนุษย์และสัตว์ในขณะที่พืชมักถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไร้จิตวินยาน ไม่ต่างจากก้อนหินดินน้ำ หรือสะสารใดๆในธรรมชาติ แต่กระนั้นก็ยังมีบางศาสนาที่ให้ความสำคัญกับพิชเทียบเท่ามนุษย์และสัตว์นั้นคือศาสนาเชน ซึ่งเป็นศาสนาโบราณ ของอินเดียที่เก่าแก่กว่าศาสนาพุทธศาสนาเชนเชื่อกันว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนแต่มีจิตวินยานตั้งแต่มนุษย์สัตว์จุลชีพ ไปจนถึงพืช เชนมีแนวคิดเรื่องสังสารวัต หรือการเวียนว่ายตายเกิดเช่นเดียวกับศาสนาฮินดูและพุทธซึ่งเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตต้องตายแล้วเกิดใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยเปลี่ยนรูปแบบชีวิตไปเรี่อยๆจนกว่าจะหลุดพ้นนั้นหมายความว่าในชาติต่อๆไป คุณสามารถเกิดเป็นมนุษย์สัตว์เชื้อโรค หรือต้นไม้ใบหญ้าก็ได้ สุดแล้วแต่กำที่คุณทำดังนั้น นี้ก็เป็นอีกหนึ่งข้อสังเกตว่าหรือพืชนั้นจะมีจิตใจอยู่จริงเหมือนกับสัตว์อื่นๆ

2.นักปรัชญากรีกอริสโตเติล
นักปรัชญากรีกสมัยโบราณอย่างอริสโตเติลก็มองว่าพืชมีจิตวินยานเช่นกันเพียงแต่พืชเป็นจิตระดับต่ำที่มุ่งแต่การเจริญเติบโตและขยายพันธุเท่านั้นและในส่วนของสัตว์นั้นจะมีระดับจิตที่สูงกว่าพืชคือมีความรู้สึกและมีความตั้งใจมีจุดมุ่งหมายและมนุษย์จะมีระดับจิตที่สูงที่สุด คือมีทุกอย่างที่พืชและสัตว์นั้นมี แต่ที่เพิ่มเติมนั้นคือความสามารถในการใช้เหตุผลและเซนต์โทมัส อไควนัวนักปรัชญาคริสต์สมัยกลางก็เห็นด้วยกับอริสโตเติลเขาเชื่อว่าจิตวินยานคือรากฐานของสิ่งมีชีวิต และจิตของพืชก็คือจิตที่มีระดับต่ำซึ่งต้องการแค่กินสารอาหารและเติบโตในขณะที่สัตว์ จะมีความรู้สึกเพิ่มเข้ามาส่วนมนุษย์จะมีสติปัญญาที่สัตว์ไม่มี ทำให้มนุษย์มีจิตที่สูงส่งที่สุดปัจจุบันเรารู้แล้วว่าพืชมีอาณาจักรในด้านชีววิทยาซึ่งเรียกว่าอาณาจักรพืชสร้างอาหารและขายพันธุได้แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้แม้พืชจะดูแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอาณาจักรอื่นมากๆโดยเฉพาะอาณาจักรสัตว์แต่ความรู้ทางด้านวิวัฒนาการเปิดเผยว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกล้วนมีต้นกำเนิดเดียวกันทั้งสิ้นหากแต่เป็นวิวัฒนาการเเตกแขนงออกแต่ละตามช่วงเวลาหลายพันล้านปี ทำให้เกิดความแตกต่างหลากหลายจนนับไม่ถ้วนในปัจจุบัน

3.จิตในเชิงวิทยาศาสตร์
เราไม่มีข้อกังขาว่าสิ่งมีชีวิตที่วิวัฒนาการอันสลับซับซ้อนอย่างสัตว์เป็นสิ่งที่มีจิตใจ แต่คำถามคือแล้วพืชหละมีจิตใจด้วยหรือไม่การที่จะตอบคำถามนี้ได้เราต้องมาดูนิยามของคำว่าจิตในเชิงวิทยาศาสตร์กันก่อน จิตหมายถึงระบบหรือชุดของปรากฎการณ์ภายในอันประกอบด้วย ความคิด จินตนาการ ความทรงจำ เจตจำนง ความปรารถนา อารมณ์และความรูสึก ซึ่งส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมออกมาภายนอกจิตคือสิ่งที่เป็นนามธรรมตรงข้ามกับร่างกายที่เป็นรูปธรรมเราไม่สามารถสัมผัสตัวตนของจิตได้เหมือนกับการทำกับวัตถุ แต่เราก็รับรู้การมีอยู่ของจิตได้จากปรากฏการณ์ที่มันแสดงออกมา กระนั่นปรากฏการณ์ของจิตก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว ต่างจากปรากฏการณ์ธรรมขาติอื่นๆที่ทุกคนสามารถรับรู้ได้เหมือนกันโดยทั่วไปจิตในเชิงวิทยาศาสตร์มักหมายถึงระบบความคิดของมนุษย์และสัตว์ชั้นสูงซึ่งมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับสมอง เพราะสมองเป็นศูนย์ควบคุมระบบประสาทส่วนกลางที่เป็นต้นกำเนิดของความคิดและปรากฏการณ์ทางจิตทุกอย่างดังนั้นเมื่อสมองเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเช่นได้รับการกระทบกระเทือนได้รับสารเสพติดหรือยาบางชนิดที่มีผลต่อสมอง สภาพจิตใจและพฤติกรรมของคน คนนั้นก็จะเปลี่ยนไปด้วย

4.พืชไม่มีสมองแต่มีกลไกที่ซับซ้อน
สำหรับพืชพวกมันไม่มีสมองเหมือนมนุษย์และสัตว์ พวกมันไม่สามารถคิดได้อย่างที่เราคิดแต่กระนั่นพืชก็มีกลไกที่สลับซับซ้อนเป็นอย่างมากซึ่งช่วยให้พวกมันสามารถทำสิ่งมหัศจรรย์ได้อย่างมากมาย พืชสามารถบอกเวลาได้เพราะมียีนที่ไวต่อการรับรู้เวลาพวกมันจึงรู้ว่าเมื่อไหร่จึงควรที่จะหยุดการเจริญเติบโต เมื่อไหร่ที่ควรทิ้งใบหรือเมล็ดรวมถึงเวลาที่ควรเปิดปิดกลีบดอกในแต่ละวัน และพืชที่กินสัตว์เป็นอาหารอย่าเช่นกาบหอยแครง สามารถรอคอยและปิดใบที่เป็นกับดักเพื่อจับแมลง เมื่อมีเหยื่อเข้ามาสัมผัสเส้นขนในใบกลไกภายใจจะทำให้ใบปิดลงอย่างรวดเร็วเพื่อตะคลุบเหยื่อ สิ่งที่น่าทึ่งคือต้นกาบหอยแคลงรู้จักการนับจำนวนด้วยเพราะการที่จะปิดกับดักเส้นขนสองเส้นต้องถูกสัมผัสภายในเวลา15 นาทีและหากแมลงมีการดิ้นรนและสัมผัสเส้นขนมากกว่าสามครั้งต้นกาบหอยแครงจะปล่อยน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อยสลายเหยื่อแล้วดูดกินสารอาหารทันทีนอกจากนั้นยังมีตัวอย่างพฤติกรรมของพืชชนิดอื่นๆอีกเช่นต้น ลาวาเทร่า เครทิกา สามารถหมุนใบไม้ในช่วงกลางคืนให้เตรียมรับแสงแดดในเช้าวันใหม่ หรือหน่อต้นข้าวโพดก็สามารถจดจำทิศทางของแสงที่จะส่องมาได้

5.การวิจัยของนักชีววิทยา
การวิจัยพบว่า ต้นถั่วลันเตาสามารถเรียนรู้การวางเงื่อนไขได้เหมือนสัตว์โดยปรับตัวให้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่นักวิจัยใช้กระตุ้นซ้ำๆ อย่างพัดลมและแสงสีฟ้า ในทางวิทยาศาสตร์มีการศึกษาสมรรถภาพทางจิตของพืช เรียกว่ายานสรีระวิทยาของพืชหรือการรู้คิดของพืชซึ่งสำรวจ แนวคิดที่ว่า พืชสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าและเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมได้แล้วเลือกหรือตัดสินใจอย่างเหมาสมเพื่อความอยู่รอดแนวคิดเรื่องการรู้คิดของพืชในเชิงวิทยาศาสตร์ สืบย้อนไปตั้งแต่ยุคของ ชาล ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยาชื่อดัง ในช่วงปลายทศวรรษ 1800 ดาร์วินได้เขียนหนังสือร่วมกับลูกชาย เรื่องพลังแห่งการเคลื่อนไหวของพืช ซี่งเปรียบเทียบการทำงานของพืชกับระบบประสาท ดาร์วินเสนอว่า ปรายรากพืชทำหน้าที่คล้ายกับสมองของสัตว์ชั้นต่ำบางชนิดซึ่งก่อให้เกิดกลไกรับสัมผัสและก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปแม้ว่าพืชจะไม่มีสมองหรือเส้นประสาทก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลักฐานจากการทดลองเรื่องการรู้คิดของพืชได้เพิ่มพูลขึ้นอย่างรวดเร็วและเปิดเผยความเป็นไปได้ที่ว่าพืชอาจใช้ประสาทสัมผัสและการรับรู้เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมนักวิจัยบางคนถึงกับอ้างว่าพืชมีการประมวลผลข้อมูลในลักษณะเดียวกับระบบประสาทของสัตว์เลยทีเดียวแม้ว่าด้านสมรรถภาพด้านจิตใจของพืชยังคงต้อง ศึกษาและถกเถี่ยงกันอีกมากแต่ดูเหมือนว่าพืชจะมีระบบที่ซับซ้อนบางอย่างซึ่งแม้ไม้ก้าวล้ำเท่าสมองของมนุษย์และสัตว์แต่ก็มากพอให้พืชแสดงพฤติกรรมให้น่าสนใจที่เราอาจมองข้ามมาก่อนเท่าที่รู้ตอนนี้พวกมันสามารถรับรู้และเรียนรู้สิ่งรอบตัวจดจำข้อมูลเลือกวิธีตอบสนองรวมถึงมีสัญชาตญาณในการเอาชีวิตรอดท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าคุณจะคิดว่าพืชมีจิตใจหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอะไรลึกซึ้งมากกว่าที่คุณเห็นภายนอกแน่นอน
