“คริสตาต้า” มาพร้อมความสวยแปลกตา และราคาแปลกใจ

ไม้คริสตาตัส (Cristatus) หรือคริสตาต้า (Cristata cactus) หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า ไม้คริส ไม่ได้แปลกแค่ชื่อ แต่ลักษณะต้นเองก็แปลกตาและมีเอกลักษณ์พิเศษไม่แพ้กัน ซึ่งจริงๆ แล้วคริสตาต้าเกิดจากการผิดรูปด้วยธรรมชาติ เป็นความผิดปกติในการเจริญเติบโตบริเวณยอด โดยมีการโตออกทางด้านข้าง ทำให้มีลักษณะคล้ายพัดหรือหงอนไก่ แถมยังมีพูออกมาเยอะด้วย ที่สำคัญคือต้นค่อนข้างใหญ่ แต่ละต้นก็มีลักษณะแตกต่างกันออกไป แต่ก็ยังคงความสวยงามแปลกตา และที่สำคัญยิ่งสวยยิ่งด่าง ราคายิ่งแพง

ด้วยรูปลักษณ์ที่แปลกตา และราคาที่พุ่งสูง หลายคนเลยเริ่มสนใจอยากซื้อมาลองเลี้ยงกันแล้ว (อย่าลืมคำนึงถึงเงินในกระเป๋าด้วยนะครับ) เมื่อเราได้ไม้คริสมาระยะหนึ่งแล้ว หมั่นสังเกตและลองยกกระถางดู ถ้าเห็นรากเริ่มโผล่พ้นกระถางออกมา นั่นคือสัญญาณว่าเค้าเริ่มโตขึ้นแล้ว และถึงเวลาแล้วที่ต้องทำการขยายกระถางเพื่อให้โตไวขึ้น โดยการเปลี่ยนกระถางมีผลดีต่อแคคตัส 3 ประการ คือ

  1. ทำให้รากมีพื้นที่เพียงพอในการเจริญเติบโต รากที่อัดแน่นเกินไป จะทำให้ความสามารถในการดูดสารอาหารน้อยลง เป็นสาเหตุให้แคคตัสหยุดการเจริญเติบโต
  2. ถ้าดินแน่นจนเกินไป อากาศและน้ำไม่สามารถไหลเวียนได้อย่างทั่วถึง
  3. ช่วยปรับสภาพดินให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น เพราะดินเดิมอาจจะมีธาตุอาหารน้อยลงเรื่อยๆ ทำให้แคคตัสเติบโตช้า เมื่อเปลี่ยนดินเราก็จะสามารถเติมสารอาหารใหม่ๆ ลงไป เช่น ปุ๋ยละลายช้า ออสโมโค้ท (Osmocote) และยาป้องกันแมลง อย่างสตาร์เกิล จี (Starkle G)

ข้อควรระวัง ควรเปลี่ยนกระถางในขณะที่วัสดุปลูกมีความชื้นพอสมควร คือไม่แห้งหรือไม่แฉะจนเกินไปนะ

สายพันธุ์ “คริสตาต้า” ที่นิยมเลี้ยง

ในวงการกระบองเพชร ก็มีผู้นิยมเลี้ยงไม้คริสตาต้าอยู่ไม่น้อยเลย เพราะถือเป็นไม้สะสม ด้วยรูปร่างและลักษณะที่แปลกตา ดูมีเอกลักษณ์พิเศษ วันนี้เราเลยยกตัวอย่าง ไม้คริส ที่คนนิยมเลี้ยงกัน เผื่อเพื่อนๆ อยากจะลองเลี้ยงหรือมีสะสมไว้สักต้นนะ

1. ยิมโนคริส (Gymnocalycium Cristata)

2. แมมนิ้วทองคริส (Mammillaria Elongata Cristata)

3. ตอ-บลูคริส (Myrtillocactus Geometrizans Cristata)

4. แมมขนแกะคริส (Mammillaria albicoma cristata)

อ่านบทความแนะนำเพิ่มเติม

: “เลี้ยงแคคตัสริมระเบียง” กับข้อควรระวังที่ควรรู้!

Related Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *