ต้นไม้แห่งปีศาจ? “ต้นตีนเป็ด หรือพญาสัตบรรณ”

ต้นตีนเป็ด หรือ พญาสัตบรรณ ที่หลายคนบอกว่ามันเป็นสัญญาณการมาถึงของฤดูหนาวในไทย เอกลักษณ์ของมันคือกลิ่นของดอก บางคนก็บอกว่าหอม บางคนก็บอกว่าเหม็นจนชวนเวียนหัว หากมองข้ามเรื่องกลิ่นของดอกไป รู้มั้ย? ว่าต้นตีนเป็ดมีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นใบ เปลือก ต้น ใบ น้ำยาง ล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณทางยา ในบทความนี้ขอรวบรวมประโยชน์มาให้ได้อ่านกันค่ะ

เป็นอีกหนึ่งต้นไม้สำคัญในเมืองใหญ่ เรามักเริ่มได้กลิ่นตั้งแต่ราวๆ เดือนตุลา หรือเวลาไปลอยกระทงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไม้เมืองร้อน โตง่าย ทนทาน ใบหนาให้ร่มเงาได้ดี จึงไม่ใช่แค่กรุงเทพฯ เท่านั้นที่ปลูก (และมีปัญหากับกลิ่นประหลาดนี้) ที่กรุงเดลีของอินเดียเองก็มีประเด็นกับเจ้ากลิ่นอวลในเมืองใหญ่นี้เช่นกันเป็นต้นไม้ใหญ่ริมทาง ด้วยกลิ่นอันล้ำลึกทำให้มีฉายาว่าต้นไม้ของปีศาจ (devil tree) ในขณะที่ชื่อในภาษาสันสกฤตที่อินเดีย เรียกว่า Saptaparni ซึ่งก็เป็นรากศัพท์ความหมายเดียวกันกับคำว่า ‘สัตบรรณ’ อันหมายถึงใบไม้เจ็ดใบของไทยเป๊ะๆ

ที่อินเดียส่วนใหญ่มองว่าต้นตีนเป็ดนั้นหอม ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Alstonia scholaris เหมือนกับคำว่า Scholar เป็นต้นไม้ที่เกี่ยวข้องภูมิรู้และสติปัญญา บางคนถึงกับบอกว่ากลิ่นของมันทำให้นักปราชญ์มีสมาธิและความแตกฉาน แต่สำหรับเมืองใหญ่ทั้งอินเดียและไต้หวันเองก็เกิดประเด็นปัญหาจากกลิ่นที่ฟุ้งเกินไปของพวกมันเหมือนกัน

สรรพคุณของพญาสัตบรรณ

  1. เปลือกต้นมีรสขม ใช้เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น)
  2. เปลือกต้นสัตบรรณมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน (เปลือกต้น)
  3. น้ำยางจากต้นใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้ (ยาง)
  4. น้ำยางจากต้นใช้อุดฟันเพื่อแก้อาการปวดฟันได้ (ยาง)
  5. ใบอ่อนใช้ชงดื่ม ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิดได้ (ใบ)
  6. เปลือกต้นใช้แก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ (เปลือกต้น)
  7. ช่วยแก้ไข้ (เปลือกต้น,ใบ)
  8. ดอกช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน (ดอก)
  9. เปลือกต้นต้มน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยรักษาโรคมาลาเรีย (เปลือกต้น)
  10. ช่วยแก้โลหิตพิการ (ดอก)

Related Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *